Saturday, September 7, 2013

กำหนดการ บำเพ็ญกุศลสัตตมวารศพ ( 7 วัน) พระเดชพระคุณพระมงคลวิสุทธิ์ (หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล)

วันจันทร์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๐ . ๐๐ น.
ณ ศาลากลางน้ำวัดคอนสวรรค์ ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
**************************************

เวลา ๐๙.๐๐ น. 
- พุทธศาสนิกชน คณะศิษยานุศิษย์ พร้อมกัน ณ ศาลากลางน้ำวัดคอนสวรรค์ ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

เวลา ๑๐.๐๐ น. 
- ประธานในพิธีเดินทางถึงบริเวณประกอบพิธี
- ประธานจุดธูปเทียน บูชาพระรัตนตรัย (กราบ ๓ ครั้ง) 
- จุดธูปเทียน เครื่องทองน้อย (กราบ ๓ ครั้ง) 
- เจ้าหน้าที่กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย
- เจ้าหน้าที่อาราธนาศีล
- ประธานสงฆ์ให้ศีล
- เจ้าหน้าที่อาราธนาพระปริตร
- พระสงฆ์สมณศักดิ์ จำนวน ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์
- ประธานในพิธีถวายเครื่องไทยธรรม
- เจ้าหน้าที่ลาดภูษาโยง
- ประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุล
- พระสงฆ์ทั้งนั้นพิจารณาผ้าบังสุกุลและอนุโมทนา / ประธานในพิธีกรวดน้ำ

เวลา ๑๑.๐๐ น.
- ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุ - สามเณร

พิธีแสดงพระธรรมเทศนา
เวลา ๑๓.๐๐ น.
- ประธานในพิธีเดินทางถึงบริเวณประกอบพิธี
- ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย (กราบ ๓ ครั้ง) 
- จุดธูปเทียน เครื่องทองน้อย (กราบ ๓ ครั้ง) 
- จุดเทียนบูชาธรรม
- เจ้าหน้าที่อาราธนาศีล
- พระสงฆ์ให้ศีล
- เจ้าหน้าที่อาราธนาธรรม
- แสดงพระธรรมเทศนา โดย พระเดชพระคุณพระเทพรัตนมุนี เจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี วัดมัชณิมาวาส อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
 - ประธานในพิธีถวายเครื่องไทยธรรม

เวลา ๑๔.๐๐ น.
- พระสงฆ์สมณศักดิ์ ๑๒๐ รูป รับทักษิณานุประทาน
- เจ้าหน้าที่ลาดภูษาโยง
- ประธานในพิธีดูแลผู้มีเกียรติทอดผ้าบังสุกุล
- พระสงฆ์ อนุโมทนา / ประธานในพิธีกรวดน้ำ
- เสร็จพิธี

การแต่งกาย: ประธานและผู้มาร่วมงาน : ชุดสุภาพไว้ทุกข์

Thursday, September 5, 2013

การเดินทางไปวัดคอนสวรรค์ และ ที่พัก

การเดินทางไปวัดคอนสวรรค์
เดินทางด้วย รถโดยสารประจำทาง 
สาย33 กท.-กระนวน-บ้านแพง...
เส้นทาง...กท.-สระบุรี-นครราชสีมา-ขอนแก่น-กระนวน-วังสามหมอ-บ.คำบิด-วาริชภูมิ-พังโคน-วานรนิวาส-คำตากล้า-เซกา-บ้านแพง
รถ ม.1ข...บ.ชยสิทธิ์ทัวร์ , บ.เชิดชัยทัวร์ , บขส. , บ.407พัฒนา
รถ ม.4ค... บขส.

สาย34 กท.-สหัสขันธ์-บ้านแพง
เส้นทาง...กท.-สระบุรี-นครราชสีมา-บ้านไผ่-บรบือ-มหาสารคาม-กาฬสินธุ์-สมเด็จ-สหัสขันธ์-วังสามหมอ-บ.คำบิด-วาริชภูมิ-พังโคน-พรรณานิคม-อากาศอำนวย-ศรีสงคราม-บ้านแพง
รถ ม.1ข...บ.แสงประทีปทัวร์
รถ ม.2....บ.แสงประทีปทัวร์
รถ ม.4ก...บขส.(VIP)

(สอบถามเจ้าหน้าที่อีกครั้ง เพื่อความมั่นใจนะครับ)



สามารถเดินทางโดยรถประจำทางกรุงเทพ บ้านแพง (นครพนม)หรือ สาย 33, 34 ลงที่ "บ้านคำบิด" ห่างจากวัด 4 กม แล้วต่อสามล้อเครื่อง, รถรับจ้าง หรือโทรมาที่เบอร์นายบุญสงค์ วงศ์ภาคำ ไวยาวัจกรวัด 0810484868 
เดินทางด้วย รถยนต์ส่วนตัว
การขับรถมาเองจากกรุงเทพฯระยะทางประมาณ 630 กิโลเมตร  (7 ชั่วโมง)  โดยออกจากกรุงเทพฯ ทางรังสิต มุ่งหน้าไปนครราชสีมา - ขอนแก่น - อุดรธานี - สกลนคร
ระหว่างขับรถจาก อุดรธานี ไป สกลนคร ให้ใช้ถนนสาย 22 ประมาณ 62 กิโลเมตร จะเจอป้ายเลี้ยวขวา ให้วิ่งถนนท้องถิ่นอีกประมาณ 25 กิโลเมตร จะถึงวัดหลวงปู่
*ถนนช่วงก่อนเข้าวัด 20 กิโลเมตร อาจขรุขระบ้าง โปรดขับด้วยความระมัดระวัง*

เดินทางด้วย เครื่องบิน  
เมื่อถึงสนามบินปลายทางแล้ว ให้หารถเช่า หรือ จ้าง taxi ( taxi ราคาประมาณ 1,500 - 2,000 บาท)
  1. ลงที่สนามบิน อุดรธานี  -  ขับถนนสาย 22 มุ่งหน้าไปสกลนคร  ประมาณ 62 กิโลเมตร จะเจอป้ายเลี้ยวขวา ให้วิ่งถนนท้องถิ่นอีกประมาณ 25 กิโลเมตร จะถึงวัดหลวงปู่ 
  2. ลงที่สนามบิน สกลนคร  -  ขับถนนสาย 22 มุ่งหน้าไปทางอุดร ให้เลี้ยงซ้ายที่อำเภอพังโคน วิ่งถนนท้องถิ่นไปเรื่อยๆ จนเจอวัดหลวงปู่

ที่พัก
1. วัดคอนสวรรค์มีห้องพักรับรองจำนวน 21 ห้อง โดยมีหมอนและเสื่อพร้อม 







2. รีสอร์ทในละแวกใกล้เคียงซึ่งห่างไป 14 กิโลเมตร หาได้ใน อ. ส่องดาว, อ.พังโคน, อ.สว่างแดนดิน


Wednesday, January 30, 2013

หลวงปู่มั่น ทตฺโต



"หลวงปู่มั่น ทัตโต" อายุ 104 ปี 82 พรรษา กับ "สัจธรรม" ผู้เปลี่ยนใจ ผกค. ได้สำนึก !!
                                                                            หนังสือพิมพ์ดาวสยาม ในวันที่ 16-17 กันยายน 2524






































ประวัติหลวงปู่มั่น ทตฺโต














































แหล่งที่มา: ubonpra.com และ หนังสือ 100 ปี หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล


Wednesday, January 9, 2013

วัดถ้ำพวง



เนื่องด้วยปีใหม่ ผมได้เดินทางไปที่จ.สกลนครเพื่อกราบหลวงปู่สุภา คราวนี้ผมอยู่ที่วัดคอนสวรรค์ 3 วัน 2 คืน จึงหาโอกาสเที่ยวบริเวณรอบๆวัดคอนสวรรค์บ้าง   ผมตัดสินใจเดินทางไปชมวัดถ้ำพวง  

เห็นป้ายทางไปวัดถ้ำพวงหลายครั้งแล้ว ไม่มีโอกาสเสียที  เริ่มเดินทางออกจากวัดคอนสวรรค์ ที่บ้านค้อเขียว ให้ขับรถเลี้ยวขวา ไปทางอำเภอส่องดาว หรือ สว่างแดนดิน ขับไปประมาณ 3 กิโลเมตร จะเจอป้ายบอกทางให้เลี้ยวซ้าย 15 กิโลเมตร ถึงวัดถ้ำพวง

ขับรถไปตามทางจนถึง วงเวียนพระเวชสันดร ให้ขับไปทางเดียวกับหางช้างอีก 5 กิโลเมตร จะเจออุทยานภูผาเหล็ก และ วัดถ้ำพวง




ประวัติการก่อตั้งวัดถ้ำพวงโดยสังเขป

เดิมทีราว พ.ศ. 2504 พระอาจารย์วัน อุตฺตโม ได้เริ่มก่อตั้งวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมและจำพรรษาอยู่ ณ วัดแห่งนี้ จนมีพระภิกษุสามเณรเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

ในปี พ.ศ. 2514 ท่านพระอาจารย์วัน อุตฺตโม ได้นำคณะศิษยานุศิษย์ร่วมกันสร้างถนนขึ้นสู่ยอดเขาภูผาเหล็กซึ่งมีถ้ำอีกแห่งหนึ่งมีชื่อว่า "ถ้ำพวง" ด้วยความสามัคคีพร้อมเพรียงแห่งแรงศรัทธา ได้ร่วมกันสร้างถนนจนเสร็จเรียบร้อยเป็นระยะทางรวมทั้งสิ้น 5 กิโลเมตร พร้อมทั้งได้สร้างวัดขึ้นด้วยคือ "วัดถ้ำพวง" บนยอดเขาภูผาเหล็ก (เป็นส่วนหนึ่งของวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม) แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปมักชอบเรียกว่า "วัดถ้ำพวง" จากนั้นได้สร้างอาคารเสนาสนะ และได้สร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกหน้าตักกว้าง 5 เมตร ไว้ ณ ถ้ำพวง นามว่า "พระมงคลมุจลินท์" พร้อมทั้งได้สร้างวิหารครอบองค์พระพุทธรูปเป็นที่เรียบร้อยในเวลาต่อมาเมื่อท่านพระอาจารย์วัน อุตฺตโม ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2523 ด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่ตำบลคลองหลวง อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธ) ได้แต่งตั้ง พระอธิการหลอ นาถกโร เป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม สืบแทนตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2523 เป็นต้นมาจนได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น "พระครูอุดมญาณโสภณ" จนถึงปัจจุบัน ท่านได้ทำนุบำรุงและพัฒนาวัดถ้ำพวงจนเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป

สถานที่ตั้ง วัดถ้ำพวง ภูผาเหล็ก บ้านท่าวัด ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร 











พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารพระอาจารย์วัน อุตตโม



ประวัติ 

พระอาจารย์วัน ชาติกาลเมื่อวัน อาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม 2465 ตรงกับแรม 6 ค่ำ เดือน 9 ปีจอ ที่บ้านตาลโกน ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อแหลม สีลา รักษ์ มารดาชื่อ จันทร์ มาริชิน มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา 2 คน คือ พระอาจารย์วัน และนายผัน ลีลา รักษ์ 

เมื่ออายุยังน้อย พระอาจารย์วันเป็นบุคคล ที่ชอบสนุกร่าเริง แต่ในความสนุกร่าเริง ดังกล่าวก็มิได้ทำความเสียหายทั้งใน เรื่องของความประพฤติ การศึกษาและความรับผิดชอบ ในการงานที่ได้รับมอบหมายจากบิดามารดา ทั้งในเรื่องบวชเรียนก็ไม่ได้คิดคำนึงมา แต่น้อย แม้บิดาได้เคยสั่งไว้ว่าให้บวช ให้ท่านบ้าง จะอยู่ในศาสนาน้อยมากก็ตามแต่ศรัทธา 

ภายหลังจึงได้ตัดสินใจบวชตาม คำสั่งของบิดายังความตื้นตันใจแก่ญาติด มิตรเป็นล้นพ้น แต่ในขั้นแรกได้ไปรับ ใช้เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์วัง ฎิติสาโร วัด ป่าม่วงไข่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ต่อมาเมื่อ ท่านเจ้าคุณพระราชกวี (พระธรรมเจดีย์ จู ม พนธุโล) เดินทางกลับมาจากงาน ผูกพัทธสีมา ที่วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี จะแวะพักที่วัดศรีบุญเรือง บ้านงิ้ว ตำบล พันนา อำเภอสว่างแดนดิน พระอาจารย์วังจึงได้ นำไปบวชเป็นสามเณร ณ ที่วัดนั้น เมื่อวัน ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 เมื่ออายุ 15 ปี โดยมีพระราชกวีเป็นพระอุปัชฌาย์ครั้นบวช แล้วได้กลับมาอยู่ที่วัดอรัญญญิกาวาส บ้านม่วงไข่ และจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้น 2 พรรษา 


พ.ศ. 2481 - 2482 เจ้าคุณ พระราชกวี พาไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้าน สามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

พ.ศ. 2483 พระอาจารย์วัน ได้กราบลา ท่านเจ้าคุณไปจำพรรษาที่วัดสุทธาวาสอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีพระมหาแสง ปุสโส (พระจริย คุณาจาร) เป็นเจ้าอาวาสได้เริ่มเรียนนักธรรม ชั้นตรีแต่ปีนั้นจนกระทั่งสอบได้ 
ต่อมาวันที่ 29 มกราคม 2485 ได้อุปสมบทเป็นพระที่ วัดสว่างโสก อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครู จินนวิโสธนาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาคล้าย เป็นพระธรรมวาจาจารย์ แล้วจึงเดินทางกลับมา จำพรรษาที่วัดสุทธาวาสจังหวัดสกลนครเพื่อศึกษาชั้นนัก ธรรมเอก ภายหลังจึงได้เดินทางไปสอบนัก ธรรมเอกที่จังหวัดอุบลราชธานี 

พ.ศ. 2480 กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าคามวาสี บ้านตาลโกน ระหว่างนั้นได้เป็นครูสอนนักธรรมที่สำนักเรียน วัดสุทธาวาส และวัดชัยมงคล แต่เป็นไม่ได้ด้วย เพราะสุขภาพ

พ.ศ. 2480 กลับมา จำพรรษาที่วัดป่าคามวาสี บ้านตาลโกน ระหว่างนั้น ได้เป็นครูสอนนักธรรมที่สำนักเรียนวัดสุทธาวาส และวัดชัยมงคล แต่เป็นไม่ได้ด้วยเพราะสุข ภาพ

พ.ศ. 2488 ได้ไปจำพรรษา อยู่ที่วัดป่าบ้านหนองฝือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม ซึ่งที่นั้นได้พบกับท่านอาจารย์ มั่น ภูริทัตตเถระ ซึ่งมาจำพรรษาอยู่จึงได้ ศึกษาอบรมยอมปฏิบัติจากท่านพระอาจารย์มั่น เป็น เวลาถึง 5 ปี จนหระทั่งถึงปี พ. ศ. 2492 

ระหว่าง พ.ศ. 2493 - 2500 พระอาจารย์วันได้จำพรรษาในถิ่นที่ต่าง ๆ เกือบทุกจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

พ.ศ. 2501 ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดพุฒา ราม บ้านคำตานา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดน ดิน จนถึง พ.ศ.2503 

พ.ศ. 2503 ได้มาพักที่วัดโชติการาม บ้าน ปทุมวาปี อำเภอส่องดาว ตามคกร้องนิมนต์ของญาติโยม ซึ่งได้สร้างเป็นที่พักชั่วคราว ภายหลังได้ มีการสร้างกุฏิถาวรขึ้น ตามศรัทธาของญาติโยม ปัจจุบันคือวัดอภัยดำรงธรรม ทั้งภายหลังได้สร้าง พระพุทธรูปที่ถ้ำพวงโดยมีจุดประสงค์ให้ ชาวบ้านหันมากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปแทน การเซ่นสรวงผีสสางในภูเขาซึ่งเป็นสถาน ที่พระอาจารย์วัน ได้จำพรรษาเป็นระยะเวลานาน ได้พัฒนาสถานที่รวมทั้งความประพฤติปฏิบัติของราษฎร ชาวบ้านในแถบนั้นอย่างกว้างขวาง 






จนเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2523 ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยเหตุ เครื่องบินตกขณะที่ท่านได้รับอาราธนาเข้ากรุงเทพ พร้อมด้วยพระอาจารย์อีก 4 รูป และเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จ พระนางเจ้า ๆ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระ ราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา ภรณ์วลัยลักษณ์มาพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุ วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร 


แหล่งข้อมูล:  bloggang ของ wicsir

Monday, January 7, 2013

ประวัติหลวงปู่สีทัตต์



     ท่านพระอาจารย์สีทัตต์เป็นหัวหน้าชักชวนพระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกาทั่วไปในการสร้างพระธาตุท่าอุเทนท่านมีใจชอบธุดงค์ค์กรรมฐานมาก ท่านได้จาริกไปในที่ต่าง ๆจนถึงประเทศพม่าและได้เชิญพระบรมสารีริกธาตุมาจากเมืองย่างกุ้ง ซึ่งบรรจุไว้ในพระธาตุท่าอุเทนนี้ในระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ท่านได้สร้างพระธาตุเจดีย์และมณฑป คือ
1. พระธาตุท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
2. พระธาตุพระบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
3. มณฑปโพนสัน
     ต่อมาเมื่อราว พ.ศ. 2470 ท่านพระอาจารย์สีทัตต์ ได้ไปสร้างพระธาตุที่ภูเขาพระบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ในระหว่างที่กำลังสร้างอยู่นั้นท่านถูกเณรเถน (เถน เรียกสามเณร ที่อายุเกิน 20 ปีแล้ว) รูปหนึ่งทำร้าย โดยครั้งแรกใช้ไม้เสี้ยมปลายแหลมแทงหน้าอก 2-3 ทีก็ไม่เข้าจึงได้ใช้ไม้ตีพริกขนาดใหญ่ตีก้านคอ 2-3 ที ท่านพระอาจารย์สีทัตถ์ก็ล้มสลบไม่ได้สติเชย ญาติโยมต้องนำไปเข้าโรงพยาบาลรักษาที่นครเวียงจันทน์ เพราะในสมัยนั้นการรักษาพยาบาลที่จังหวัดอุดรธานีและหนองคายสู้เวียงจันทน์ไม่ได้ นายแพทย์ฝรั่งเศสให้การรักษาพยาบาลอยู่ถึง 7 วัน จึงได้สติและพูดได้พักรักษาตังยู่โรงพยาบาล 1 เดือน จึงได้ออกจากโรงพยาบาล ครั้นออกจากโรงพยาบาลมาแล้วได้ไปขอตัวอดีตเณรเถนผู้ที่ทำร้ายท่านซึ่งถูกขังอยู่ในเรือนจำจังหวัดอุดรธานี ขอให้ปล่อยตัวเสียไม่เอาเรื่องและท่านพูดว่า ขอให้แล้วกันไปในชาตินี้อย่าให้เป็นเวรกรรมแก่กันและกันอีกเลย แต่ทางบ้านเมืองไม่ยอมในที่สุดอดีตเณรเถนผู้นั้น ก็ถูกขังอยู่ได้ 1 ปี ก็ตายอยู่ในเรือนจำนั้นเอง สาเหตุที่อดีตเณรเถนจะแทงจะตี ก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไรเพียงแต่ว่าในวันนั้นอดีตเณรเถนได้ขึ้นไปนั่งอยู่บนหัวนอนของท่านพระอาจารย์สีทัตต์ เมื่อท่านพระอาจารย์สีทัตต์มาพบเข้าจึงได้ว่ากล่าวตักเตือนเยี่ยงผู้ปกครองทั้งหลาย การว่ากล่าวก็ไม่รุนแรงอะไร เพราะท่านเป็นคนที่อดกลั้นโทสะดีอยู่แล้ว
     เมื่อเสร็จจากการสร้างพระธาตุพระบาทบัวบกแล้ว ท่านก็ข้ามฝั่งโขงไปถือธุดงค์กรรมฐานอยู่ในประเทศลาวและได้สร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาท (รอยจำลอง) ที่บ้านโพนสันการสร้างมณฑปของท่านก็สำเร็จบริบูรณ์เป็นอย่าดีและท่านได้อยู่ที่นั่นประมาณ6 ปี ก็มรณภาพที่นั้น เมื่อปี พ.ศ. 2483 สิริอายุได้ 75 ปีพอดี ก่อนมรณภาพท่านได้สั่งไว้ว่า เมื่อเผาศพเสร็จแล้วให้เอากระดูกของท่านทิ้งลงแม่น้ำโขงให้หมด เนื่องจากระหว่างที่ท่านบำเพ็ญพรตพรหมจรรย์อยู่นั้นท่านปรารถนาพุทธภูมิคือ ให้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต



ข้อมูลเพิ่มเติม
หลวงปู่สีทัตต์ท่านเป็นพระป่ามีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนากรรมฐานและทรงวิทยาคมทางด้านคาถาอาคมไสยเวท ซึ่งท่านได้ศึกษาวิชาอาคมด้านต่าง ๆ มาจากสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว สมเด็จลุนท่านเป็นสุดยอดปรมาจารย์ของประเทศลาว พระเกจิอาจารย์ทางภาคอีสานแถบลุ่มแม่น้ำโขงที่มีชื่อเสียงโด่งดังล้วนฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่านทั้งสิ้น สมเด็จลุนท่านมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากมายเหลือจะบรรยายเป็นตัวอักษรได้ จะขอกล่าวไว้พอเป็นสังเขป สมเด็จลุนท่านสามารถเดินข้ามแม่น้ำโขงด้วยเท้าเปล่าและบางครั้งท่านจะไปนั่งสรงน้ำกลางแม่น้ำโขง นี่คืออิทธิปาฏิหาริย์ของท่าน

และในบรรดาลูกศิษย์ของสมเด็จลุน หลวงปู่สีทัตต์ถือเป็นศิษย์เอกที่ได้รับการถ่ายทอดตำราวิทยาคมจากสมเด็จลุนจนหมดสิ้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าลูกไม้จะหล่นไกลต้น

ที่มา: เวปบอร์ดวัดท่าขนุน


Monday, November 26, 2012

วัดสารอด ราษฏร์บูรณะ


วัดสารอด เป็นวัดราษฎร์ซึ่งสันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แต่ไม่ระบุว่าใครคือผู้สร้าง 
     แต่เดิมชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า วัดเสือรอด โดยมีเรื่องเล่าว่าในอดีตเมื่อสร้างวัดเสร็จใหม่ๆ มีเสือตัวหนึ่งถูกยิงได้รับบาดเจ็บ หลบหนีเข้ามาในวัด ต่อมาเสือตัวนั้นได้หายบาดเจ็บอย่างน่าอัศจรรย์ ต่อมาชาวบ้านจึงขอทางราชการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดสารอด 





พระพุทธรูปที่สำคัญ
๑. หลวงพ่อพลอย
๒. หลวงพ่อเพชร
๓. หลวงพ่อรอด      พระพุทธรูปปรางค์สมาธิสมัยอยุธยา ตามตำนานเล่าว่าครั้งหนึ่งองค์หลวงพ่อเคยถูกโจรขโมยลงเรือไป แต่เรือกลับล่ม แล้วองค์หลวงพ่อก็ลอยกลับมาที่วัด อันเป็นที่น่าอัศจรรย์

การสร้างพระเสด็จกลับ ที่วัดสารอด เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ

หลวงปู่ได้เดินทางจากภูเก็ตเข้ากรุงเทพฯ เพื่อพบอาจารย์ชุม ไชยคีรี ซึ่งเป็นอาจารย์ที่มีความสามารถและมีความชำนาญ ในการสร้างพระเป็นเวลานาน  ท่านได้ขอความร่วมมือจากอาจารย์ชุม เพื่อนำเอาว่านยา แร่ธาตุ ที่ท่านสะสมไว้ตอนเดินธุดงค์ สร้างรูปพระและวัตถุมงคลไว้สมนาคุณแก่ศิษยานุศิษย์ ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทุนสร้างพระวิหารครอบพระพุทธไสยาสน์ที่วัดเกาะสิเหร่  จังหวัดภูเก็ต   อาจารย์ชุม ไชยคีรี มีความยินดีและอนุโมทนาในการกุศล พร้อมกันนั้นได้มอบแร่ธาตุ ว่านยา ผงวิเศษ กว่า 1,000  ชนิด ที่อาจารย์เองเคยสะสมไว้มาประสมกับว่านของหลวงพ่อสุภา


ภาพประกอบจากหนังสือ ๑๐๐ ปี หลวงปู่สุภา

อาจารย์ชุม ไชยคีรี ได้อัญเชิญวิญญาณขุนแผน ซึ่งท่านเคารพนับถือเป็นอย่างสูงในชีวิตของท่าน โดยที่ถือว่าเป็นวิญญาณวิเศษ เป็นเทพชั้นสูง เข้าประทับทรงเชิญเข้าร่วมการกุศล  วิญญาณขุนแผนผู้ปรารถนาพระโพธิญาณก็ยินดีอนุโมทนา อนุญาตให้ทำเป็นรูปพระทรงขุนแผนเรือนแก้ว พร้อมทั้งบอกตำราและวิธีสร้างพระตามตำราอาจารย์คง ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน อาจารย์คงเป็นอาจารย์ที่เคยสร้างพระทรงขุนแผนเรือนแก้วให้กับขุนแผนตั้งแต่ครั้งต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งขุนแผนเป็นแม่ทัพ  ท่านรับเข้าประทับทรงเป็นประธานทำพิธีปลุกเสก บรรจุคุณให้มีคุณครบถ้วนตามคุณวิเศษของท่านตั้งแต่ครั้งยังมีชีวิต

ต่อจากนั้น อาจารย์ชุม ไชยคีรี ได้ไปเชิญ อาจารย์อุทัย ดุจศรีวัชร์ อายุ 74 ปี ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณความรู้ทางคุณพระและทางไสยศาสตร์เป็นพิเศษอีกท่านหนึ่งมาร่วมด้วย  อาจารย์อุทัยก็ยินดีอนุโมทนา และท่านยังได้อุทิศว่านยา  แร่ธาตุผงวิเศษ ทำผ้ายันต์เสือ ผ้ายันต์สิงห์ ซึ่งเป็นผ้ายันต์ที่ท่านเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วเข้าสมทบในการกุศล และได้อุทิศตัวเข้าร่วมปลุกเสกตลอดพิธี

ภาพประกอบจากหนังสือฉลอง ๑๐๐ ปี หลวงปู่สุภา


ต่อจากนั้น ก็พิจารณาหาสถานที่ทำพิธี เฒ่าแก่ ยู่ลิ้น แซ่เฮง ได้ขอร้องให้ไปทำพิธีที่วัดสารอด เขตราษฎร์บูรณะ โดยให้เหตุผลว่าวัดสารอดเป็นวัดที่ชำรุด ทรุดโทรม และกำลังบูรณะปฏิสังขรณ์อยู่ หลวงพ่อสุภา และอาจารย์ชุม ไชยคีรี จึงได้ไปพบ อธิการชนาง เอี่ยมอุดม เจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัด ทุกคนเมื่อทราบเรื่องราวต่างก็ยินดีร่วมมือและให้ความสะดวกทุกประการ

พิธีสร้างพระเสด็จกลับจึงกำหนดทำขึ้นที่วัดสารอด เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2506 การพิมพ์พระเริ่มตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิการยน 2506 และพิมพ์ครบ 84,000 องค์ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2506 ลงมือทำพิธีปลุกเสกเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2506 และพิธีสมโภชได้ทำเสร็จเรียบร้อยในวันที่ 24 มกราคม 2507 เวลา 6.00 นาฬิกา รวมเวลาทั้งสิ้น 2 เดือนเศษ


ภาพประกอบจากหนังสือ
ฉลอง ๑๐๐ ปี หลวงปู่สุภา
     พระเสด็จกลับหรือพระผงวิเศษจำนวน 84,000 องค์เป็นพระทรงขุนแผนเรือนแก้ว ทรงพระรอดรูปและลูกประคำหลวงปู่คงของอาจารย์ชุม ไชยคีรี รูปเหรียญ หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล ที่สร้างด้วยว่านยาแร่ธาตุพญาว่าน มหาว่าน น้ำพระพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ รวม 2,000 กว่าชนิด ผ้ายันต์เสือ ผ้ายันต์สิงห์ของอาจารย์อุทัย ดุจศรีวัชร์ น้ำมันมหานิยมเลิกรบของอาจารย์ชุมที่ทำพิธีสร้างและพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดสารอด เขตราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี (ในสมัยนั้น)